Romantic Relationships and Mental Health of Adolescents
Abstract
Romantic relationships of adolescents are an important issue during psychological consultations in order to assess the effects on their overall mental health. Accordingly, it is necessary for healthcare providers to understand this kind of relationship, and also to be able to advise educational providers and parents so they can recognize adolescent romantic relationships: relationships are an essential process of psychosocial development for exploring roles and identities. Therefore, adolescents can progress to young adulthood by learning to commit to others intimately, as indicated in Eric Erikson’s psychosocial development theory. Moreover, romantic relationships are an opportunity for adolescents to improve their skills of emotional management, thus becoming more mature. However, relationship conflicts, especially breaking up, can result in mental health difficulties, notably depression. Hence, healthcare providers, teachers, and parents should talk to adolescents about their romantic relationships regularly, with a non-judgmental attitude. The key objectives are screening for violence and depression, with an emphasis on coping strategies. To date, there is no study of specific therapy for mental difficulties as a result of romantic relationships in adolescents. However, some guidelines suggest considering problem solving therapy, cognitive behavioral therapy, interpersonal therapy or family therapy, through focusing on adolescents’ problems or the severity of adolescents’ symptoms.
ความสัมพันธ์แบบโรแมนติกและสุขภาพจิตในวัยรุ่น
ชนกานต์ ชัชวาลา, พ.บ.
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 ประเทศไทย
บทคัดย่อ:
ความสัมพันธ์แบบโรแมนติกในวัยรุ่นเป็นประเด็นสำ คัญในการให้คำ ปรึกษาและส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของวัยรุ่น จึงมีความจำ เป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรทางสาธารณสุขสามารถเข้าใจและให้คำ แนะนำ กับบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง ถึงธรรมชาติของความสัมพันธ์โรแมนติกในวัยรุ่นว่าเป็นกระบวนการที่จำ เป็นต่อการพัฒนาจิตสังคมของวัยรุ่นในการค้นหา บทบาทและตัวตน ก่อนจะก้าวข้ามไปสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้นโดยสมบูรณ์ ด้วยการเรียนรู้ที่จะมีความสัมพันธ์ต่อผู้อื่นซึ่งไปจนถึงระดับ ใกล้ชิด (intimacy) ตามทฤษฏีพัฒนาการทางจิตสังคมของ Eric Erikson ทั้งยังเป็นโอกาสในการพัฒนาทักษะในการจัดการอารมณ์ ของวัยรุ่นให้มีวุฒิภาวะ แต่ความขัดแย้งหรือการยุติความสัมพันธ์อาจจะนำ มาซึ่งปัญหาสุขภาพจิตโดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า จึงมี คำแนะนำ ให้บุคลากรทางสาธารณสุข การศึกษา และผู้ปกครอง พูดคุยสื่อสารกับวัยรุ่นเรื่องความสัมพันธ์แบบโรแมนติกอย่างสม่ำ เสมอ ด้วยทัศนคติที่ไม่ตัดสิน เพื่อคัดกรองการใช้ความรุนแรงและภาวะซึมเศร้าในความสัมพันธ์แบบโรแมนติกของวัยรุ่น ให้ความสำคัญ กับแหล่งให้ความช่วยเหลือ และการพัฒนาทักษะในการรับมือกับปัญหาของวัยรุ่น ถึงแม้ปัจจุบันจะยังไม่มีการศึกษาเรื่องวิธี บำ บัดรักษาปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากความสัมพันธ์แบบโรแมนติกของวัยรุ่นเป็นการเฉพาะ แต่มีคำแนะนำ ให้พิจารณาการใช้ problem solving therapy, cognitive behavioral psychotherapy, interpersonal therapy หรือ family therapy โดยอาจแบ่ง วิธีการวางแผนการรักษาด้วยการแก้ไขตามปัญหาที่วัยรุ่นมี หรือตามระดับความรุนแรงของอาการ
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.