Quantitative Flatfoot Evaluation for Thais
Abstract
Objective: At present, there is no consensus for a foot type classification method. A combination of clinical signs and foot radiographic measurements would provide comprehensive foot type determination. This study aimed to propose a flatfoot evaluation including footprint Arch Index (AI) and foot radiographs in two planes; sagittal and transverse planes.
Material and Method: The AIs of one hundred healthy adult feet were analyzed. Among these hundred feet, thirty five feet were randomly selected and evaluated for foot radiographic measurement. The calcaneal inclination angle (CIA) and calcaneal-first metatarsal angle (C1MA) were the radiographic measurements in the sagittal plane. The talonavicular coverage angle (TNCA) and talus-second metatarsal angle (T2MA) were the radiographic measurements in the transverse plane. Normative ranges of the assessment parameters were set by the range of mean±one standard deviation (S.D.). Flatfoot was diagnosed if these parameters were further than one S.D. from the mean. Correlations between clinical and radiographic measurements were also evaluated.
Results: The mean AI was 0.2 (S.D.=0.1). The means of the CIA and C1MA were 19.2 degrees (S.D.=4.0) and 135.1 degrees (S.D.=6.9), respectively. The means of the TNCA and T2MA were 17.8 degrees (S.D.=8.6) and 19.4 degrees (S.D.=10.0), respectively. The AI had significant correlations with the CIA (r=-0.4, p-value=0.036) and C1MA (r=0.5, p-value<0.010).
Conclusion: These foot classification criteria should be useful in determining foot type in Asians for future foot studies.
การประเมินลักษณะเท้าแบนเชิงปริมาณสำหรับคนไทย
ตุลญา ปราชญ์โกสินทร์, พ.บ.ม, ปร.ด.1,2*, ณัฐพล จันทร์พาณิชย์, ปร.ด.3 , ปราโมทย์ ทานอุทิศ, พ.บ.4 , สุรพงษ์ ชาติพันธุ์, ปร.ด.1
1 โครงการจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ 2 ภาควิชาศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์และกายภาพบำ บัด 4 ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 ประเทศไทย 3 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230 ประเทศไทย
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์: ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปในการประเมินลักษณะเท้าแบนอย่างชัดเจน โดยการประเมินลักษณะเท้าอย่างครอบคลุม ต้องอาศัยลักษณะทางคลินิกและภาพถ่ายรังสีของเท้า การศึกษานี้ได้นำ เสนอวิธีการประเมินลักษณะเท้าแบนของคนไทยในเชิงปริมาณ ที่ประกอบด้วยการประเมินทางคลินิกด้วยแรงกดเท้าจากค่า Arch Index (AI) และภาพถ่ายรังสีของเท้าในสองระนาบ ประกอบด้วย ระนาบข้างและตัดขวาง
วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้ได้ประเมินค่า AI ของเท้าคนสุขภาพปกติ 100 ข้าง และทำการสุ่ม 35 เท้า จากเท้า 100 ข้าง มาประเมิน ภาพถ่ายรังสี ได้แก่ มุม calcaneal inclination angle (CIA), calcaneal-first metatarsal angle (C1MA) ในแนวระนาบข้าง และ talonavicular coverage angle (TNCA), talus-second metatarsal angle (T2MA) ในแนวระนาบตัดขวาง ช่วงค่าปกติสำหรับการประเมินจะกำหนดอยู่ในช่วงค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำ หรับลักษณะเท้าแบนค่าประเมินดังกล่าวจะมีค่ามากกว่า หนึ่งค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากนั้นการศึกษานี้ยังวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางคลินิกกับภาพถ่ายรังสีของเท้า
ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของ AI=0.2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.1) ค่าเฉลี่ย CIA=19.2 องศา (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=4.0) ค่าเฉลี่ย C1MA=135.1 องศา (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=6.9) ค่าเฉลี่ย TNCA=17.8 องศา (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=8.6) และค่าเฉลี่ย T2MA=19.4 องศา (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=10.0) ในการศึกษานี้พบว่าข้อมูลมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างค่า AI และ CIA (r=-0.4, p-value=0.036) และ C1MA (r=0.5, p-value<0.010)
สรุป: การประเมินนี้สามารถนำ ไปใช้เพื่อประเมินลักษณะเท้าแบนในกลุ่มประชากรไทยเพื่องานศึกษาวิจัยด้านเท้าต่อไป
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.