The Comparison of Skills in the Objective Structured Clinical Examination Scores of 6th Year Medical Students in Department of Obstetrics and Gynecology
Abstract
Objective: To compare Objective Structured Clinical Examination (OSCE) scores and passing rates on all 5 sections in 6th year medical students who rotate to the Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University.
Material and Method: At the end of each rotation, OSCE scores were used to evaluate the 6th year medical students in Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University for 5 stations. The minimum passing scores were determined for each station by an experienced obstetrics and gynecologic staff members. We analyse all the 433 OSCE scores recorded between 2010 and 2012 and compare the 5 sections (history taking, physical examination, laboratory interpretation, procedure competency and communication skills). ANOVA is used for comparing OSCE scores and chi-square tests are used for comparing passing rate each group.
Results: The mean OSCE scores in history taking, physical examination, laboratory interpretation, procedure competency, and communication skills are 66.8, 71.7, 57.7, 71.7 and 56.7, respectively (p-value<0.01), and the passing rates are 71.5%, 78.4%, 53.2%, 74.1% and 46.2%, respectively (p-value<0.01).
Conclusion: The communication skills have lowest mean score and passing rate in OSCE.
เปรียบเทียบทักษะด้านต่างๆ ในการสอบ Obstructive Structured Clinical Examination ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ในภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
สาธิต คลังสิน, พ.บ.*, จิตเกษม สุวรรณรัฐ, พ.บ., ศิวัชญา คนึงกิจก้อง, พ.บ., หนึ่งฤทัย แซ่เอียบ, พ.บ., เสาวคนธ์ บุญกำ เนิด, บธ.บ.
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ สงขลา 90110 ประเทศไทย
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบคะแนนสอบ Objective Structured Clinical Examination (OSCE) และอัตราการสอบผ่านแต่ละ ทักษะของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่หมุนเวียนและปฏิบัติงานภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์
วัสดุและวิธีการ: เมื่อสิ้นสุดการหมุนเวียนและปฏิบัติงานในภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ต้องผ่านการสอบ OSCE กลุ่มละ 5 สถานี เกณฑ์ผ่านแต่ละสถานีพิจารณาโดยกลุ่ม อาจารย์แพทย์ที่มีประสบการณ์ ทำการศึกษาโดยนำคะแนนสอบ OSCE ที่บันทึกไว้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553-2555 จำ นวน 433 คน มาเปรียบเทียบระหว่าง 5 ทักษะ (การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การแปลผลทางห้องปฏิบัติการ หัตถการ และการสื่อสาร การให้คำ ปรึกษา) โดยใช้ ANOVA และไคสแควร์ (chi-square test)
ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ย ทักษะการซักประวัติ 66.8 คะแนน การตรวจร่างกาย 71.7 คะแนน การแปลผลทางห้องปฏิบัติการ 57.7 คะแนน หัตถการ 71.7 คะแนน และทักษะการสื่อสารการให้คำ ปรึกษา 56.7 คะแนน โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p-value<0.01) ส่วนอัตราการสอบผ่านร้อยละ 71.5, 78.4, 53.2, 74.1 และ 46.2 ตามลำ ดับ โดยมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01)
สรุป: ทักษะการสื่อสาร การให้คำปรึกษา มีคะแนนเฉลี่ยและอัตราการสอบผ่านต่ำที่สุด
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.