Perceived Parenting Styles of Patients with Anxiety Disorders: A Case-Control Study
Abstract
Objective: To compare the perceived parenting styles of patients with panic disorder and with generalized anxiety disorder (GAD), to compare the findings with patients with general medical disorders, and to identify the factors associated with panic disorder and GAD
Material and Method: This was an unmatched case-control study conducted at out-patient clinic, Songklanagarind Hospital, Hat Yai, Songkhla, Thailand, from September 2015 to February 2016. The sample was divided into 3 groups: panic disorder, GAD and the control group. There were 50 members in each group. A self-administered questionnaire was used, consisting of demographic characteristics and a parenting style questionnaire. Anxiety and depressionscreening using the hospital anxiety and depression scale (Thai HADS) was included. Data were analyzed using descriptive statistics presented in the form of mean, frequency and percentage, and multiple logistic regression.
Results: Fifty patients of each group: panic disorder, GAD and control were sampled. The sociodemographic characteristics were similar in all 3 groups. There were no significant differences in parenting styles between panic disorder, GAD, and the control group. All groups mostly had democratic parenting styles (74%, 72%, and 86% respectively). Compared with control, panic disorder hada statistically significant association with marital status [odd ratio (OR)adj=3.9, 95% confidence interval (95% CI)=1.6, 9.6] and rural resident (ORad=3.4, 95% CI=1.3, 9.1); GAD had a statistically significant association with marital status (ORadj=3.3, 95% CI=1.3, 8.3) and male sex (ORadj=4.0, 95% CI=1.4, 11.1).
Conclusion: There were no significant differences in parenting styles between panic disorder, GAD, and the control group. Panic disorder had a statistically significant association with marital status and rural resident. GAD had a statistically significant association with marital status and male sex.
การศึกษาการรับรู้รูปแบบการเลี้ยงดูในผู้ป่วยกลุ่มโรควิตกกังวล
เอมอร จิระพันธุ์, พ.บ.*, จารุรินทร์ ปิตานุพงศ์, พ.บ.
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 ประเทศไทย
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้รูปแบบการเลี้ยงดูในผู้ป่วย generalized anxiety disorder (GAD) และ panic disorder กับผู้ป่วยโรคทั่วไป และปัจจัยที่สัมพันธ์
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มควบคุมแบบไม่จับคู่ (unmatched case-control study) เก็บข้อมูล จากกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค panic disorder, GAD และกลุ่มผู้ป่วยโรคทั่วไป ที่มารับบริการที่คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 จำ นวนกลุ่มละ 50 ราย โดยใช้ แบบสอบถามแบบตอบเอง ซึ่งประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามรูปแบบการเลี้ยงดูของพ่อแม่ โดยเก็บข้อมูล กลุ่มควบคุมเพิ่มเติม คือ hospital anxiety and depression scale ฉบับภาษาไทย (Thai HADS) เพื่อคัดกรองอาการวิตกกังวลและ อาการซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำ เสนอในรูปแบบของค่าเฉลี่ย ความถี่ และร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้ multiple logistic regression
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำ นวน 150 ราย แบ่งเป็นกลุ่มโรค panic disorder, GAD และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 50 ราย ทั้งสามกลุ่ม มีลักษณะข้อมูลประชากรใกล้เคียงกัน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากพ่อและแม่ และมีบุคคลที่สนิทมากที่สุดในครอบครัว ส่วนใหญ่เป็น แม่กลุ่มผู้ป่วย panic disorder, GAD และกลุ่มควบคุม มีการรับรู้รูปแบบการเลี้ยงดูส่วนใหญ่เป็นแบบประชาธิปไตย คือ ร้อยละ 74, 72 และ 86 ตามลำ ดับ เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบการเลี้ยงดูระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกับกลุ่มควบคุมพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับโรค panic disorder อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ผู้ที่มีสถานภาพสมรสแล้ว [odd ratio (OR)adj= 3.9, 95% confidence interval (95% CI)= 1.6, 9.7] และผู้ที่อาศัยนอกเขตอำ เภอเมือง (ORadj=3.4, 95% CI=1.3, 8.9) และปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับโรค GAD อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ผู้ที่มีสถานภาพสมรสแล้ว (ORadj= 3.3 , 95% CI=1.3, 8.3) และเพศชาย (ORadj= 3.7, 95% CI=1.3, 10.4)
สรุป: ผู้ป่วยกลุ่มโรควิตกกังวลมีการรับรู้รูปแบบการเลี้ยงดูไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม และปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับโรค กลุ่มวิตกกังวลคือ สถานภาพสมรส เพศ และถิ่นที่อยู่อาศัย
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.