Unit Cost Analysis of Endoscopic Retrograde Cholangio-Pancreatography (ERCP): A Case Study of Nanthana–Kriangkrai Chotiwattanaphan Institute of Gastroenterology and Hepatology (NKC), Songklanagarind Hospital
Abstract
Objective: (1) To estimate the unit cost of Endoscopic Retrograde Cholangio-Pancreatography (ERCP). (2) To assess factors causing increased ERCP cost.
Material and Method: A prospective study of ERCP cost from July 1, 2015 till October 31, 2015 were analyzed. The conventional method was used to analyze the cost, namely: (1) direct cost including labor cost, fixed cost and accessories devices cost; (2) indirect cost using direct allocation; (3) total cost (direct cost+indirect cost); and (4) cost per unit.
Results: Two hundred cases of ERCP were included, (117 males, 83 females) with the mean age±standard deviation (S.D.) 57.7±17.6 years. Diagnosis included 111 bile-duct stones, 58 bile-duct strictures, 7 bile-duct leakages, 13 chronic pancreatitis and 11 other conditions. ERCP included 83 stone-removals, 28 stone-removal-stent insertions, 72 biliary stent-insertions, 16 pancreatic stent-insertions and one chronic pancreatitis therapeutic procedure. The total ERCP cost of 5,865,736.00 baht included fixed cost of 2,234,221.00 baht, and variable costs of accessories including catheters, guide-wires and papillotomes 1,040,150.00 baht, stents 732,200.00 baht, duct-dilation and stone crushing/removal accessories 967,150.00 baht, other ERCP accessories 28,670.00 baht, labor, medication and medical supplies and electricity and water supply 863,345.00 baht. The fixed-cost was 38% of the total cost. The average-ERCP cost was 30,588.00 baht per case with a range of 25,972.00 baht per case to 109,322.00 baht per case. The ERCP accessories cost was 11,440.00 baht per case. The ERCP cost was higher than the actual amount collected. The average ERCP accessory cost was 39,079.00 baht per case if all the accessories were new whereas the average accessory cost was 8,042.00 baht if all the accessories were reused. The cost of stone removal was 27,626.00 baht per case which was lower than the cost of 36,117.00 baht per case for ERCP in biliary stricture.
Conclusion: The cost of ERCP was higher than the actual amount collected so the fixed cost should be included in cost calculation. The reimbursement scheme should be modified to conform with the cost of ERCP so that it is acceptable by patients.
การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยจากการส่องกล้องท่อทางเดินน้ำ ดีและตับอ่อน ของสถาบันโรคระบบทางเดินอาหารและตับ นันทนา-เกรียงไกร โชติวัฒนะพันธุ์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
สุดใจ มณีโชติ, วท.ม.1 *, ซอฟียะห์ นิมะ, ปร.ด.2 บัญชา โอวาทฬารพร, พ.บ.1
1 สถาบันโรคระบบทางเดินอาหารและตับ นันทนา-เกรียงไกร โชติวัฒนพันธุ์ คณะแพทยศาสตร์
2 สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 ประเทศไทย
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์: (1) วิเคราะห์ต้นทุนการทำ หัตถการส่องกล้องท่อทางเดินน้ำ ดีและตับอ่อน (Endoscopic Retrograde CholangioPancreatography; ERCP) (2) ระบุปัจจัยที่ทำ ให้เกิดการสิ้นเปลืองในการทำ หัตถการ ERCP
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาครั้งนี้ทำการเก็บข้อมูลต้นทุนแบบไปข้างหน้า ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558 สำหรับการคำนวณต้นทุนการทำ หัตถการ ERCP อาศัยวิธีคำนวณแบบมาตรฐานหรือแบบดั้งเดิม (standard or conventional method) ได้แก่ (1) การคำนวณต้นทุนทางตรง (ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ และต้นทุนค่าลงทุน) (2) การคำนวณต้นทุนทางอ้อม โดยวิธีจัดสรรแบบวิธีจัดสรรโดยตรง (3) การคำนวณต้นทุนรวม (ต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม) (4) การคำนวณต้นทุนต่อหน่วย
ผลการศึกษา: จำนวนผู้รับบริการทำ หัตถการ ERCP ทั้งหมด 200 ราย เป็นเพศชาย 117 ราย และเพศหญิง 83 ราย อายุเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย±ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 57.7±17.6 ปี ได้รับการวินิจฉัยเป็น นิ่วในทางเดินน้ำดี 111 ราย ท่อน้ำ ดีตีบตัน 58 ราย ท่อน้ำ ดีรั่ว 7 ราย ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง 13 ราย และมีภาวะอื่นๆ 11 ราย ในจำนวนผู้รับบริการทั้งหมดได้รับการทำ หัตถการ ERCP ดังนี้ (1) การคล้องนิ่วออก 83 ราย (2) การคล้องนิ่วและใส่ท่อระบายน้ำ ดี 28 ราย (3) ใส่ท่อระบายน้ำ ดี 72 ราย (4) ใส่ท่อระบาย ท่อตับอ่อน 16 ราย และ (5) หัตถการรักษาตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง 1 ราย ผลการคำนวณต้นทุนการทำ หัตถการ ERCP ได้ยอดรวมทั้งหมด 5,865,736.00 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนคงที่ 2,234,221.00 บาท ต้นทุนผันแปรซึ่งประกอบด้วย ต้นทุนวัสดุ สายแยงท่อน้ำ ดี สายลวดและสายตัด 1,040,150.00 บาท ท่อระบายท่อน้ำ ดีและท่อตับอ่อน 732,200.00 บาท อุปกรณ์ขยายท่อน้ำ ดี คล้องหรือขบนิ่ว 967,150.00 บาท อุปกรณ์ การทำ หัตถการ ERCP อื่นๆ 28,670.00 บาท ค่าแรง ค่าเวชภัณฑ์และอุปกรณ์สิ้นเปลืองอื่นๆ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า 863,345.00 บาท ต้นทุนคงที่มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 38 จากการคำ นวณต้นทุนการทำ หัตถการ ERCP มีค่าเฉลี่ย 30,588.00 บาทต่อราย ต้นทุนต่ำสุด 25,972.00 บาทต่อราย และต้นทุนสูงสุด 109,322.00 บาทต่อราย ต้นทุนอุปกรณ์การทำ หัตถการ ERCP เท่ากับ 11,440.00 บาทต่อราย ต้นทุนการทำ หัตถการ ERCP สูงกว่าที่จัดเก็บจริง ต้นทุนอุปกรณ์ในกรณีที่ใช้อุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด เท่ากับ 39,078.53 บาทต่อราย ต้นทุนอุปกรณ์ในกรณีที่ใช้ของใช้แล้วทั้งหมดเท่ากับ 8,042.21 บาทต่อการทำ หัตถการ ERCP ของการคล้องนิ่วเท่ากับ 27,626.00 บาทต่อราย ซึ่งต่ำกว่าต้นทุน ERCP ในผู้ป่วยท่อน้ำ ดีตีบตัน 36,117.00 บาทต่อราย
สรุป: ต้นทุนการทำ หัตถการ ERCP สูงกว่ารายได้ที่จัดเก็บได้ เมื่อคิดอัตราค่าบริการตามหลักเกณฑ์ที่กำ หนดในรายการหัตถการ ของกรมบัญชีกลาง จึงควรนำ ต้นทุนคงที่เข้ามาคิดรวมต้นทุนทั้งหมด และควรมีการปรับเปลี่ยนระบบการเบิกจ่ายตามสิทธิ์ ให้สอดคล้องกับต้นทุนการทำ หัตถการ ERCP โดยที่ผู้รับบริการสามารถรับได้
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.