The Involvement Between the Situation Factors with the Using Level of Indicator in 4 Criteria Based on BSC Approach and Hospital Health Promotion Performance in Southern Province
Abstract
This study is a research survey which aims to: 1) document the usage of the key performance indicators (KPIs) of the four perspectives in balanced scorecard (BSC) 2) document the relationship of the contingency factors, the size of the organizations, and the violent situations in the southern border provinces to the KPIs of the four perspectives in BSC and, 3) study the relationship between the KPIs of the four perspectives in the BSC and the overall operation as evaluated by the directors of hospital health promotions of the 177 hospitals responding to the survey.
In order to complete the study of the KPIs of the four perspectives in BSC, the population used in the survey and the study results from the descriptive statistics were required. The study shows that the KPIs of all four perspectives, which are the financial, customer, internal business process, and learning and growth, were in the medium range. Furthermore, in comparison to the average overall operation from other hospital health promotions, the overall operation in the past years showed that the KPIs of the customer and internal business process perspectives were in the high range, while the KPIs of the other two perspectives were located in the medium range. For hypothesis testing, in order to evaluate the difference between the sizes of the hospital health promotions and the usage of the four KPIs of BSC, the ANOVA was used. The result shows that the sizes of the hospital health promotions affect the usage of BSC, especially in the customer and internal business process perspectives. The survey shows there are no significant differences between the violent situation in the southern border provinces and the KPIs of BSC.
By using multiple regression analysis to see the relationship between the usage of the KPIs of the four perspectives and overall operation, forecast equation is overall operation = 24.348 + 0.092 (financial perspective) + 0.152 (customer perspective) + 0.201 (internal process perspective) + 0.520 (learning & growth perspective) the study demonstrates that there are significant.
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสถานการณ์กับระดับ การใช้ตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้านของ BSC และผลการดำเนินงาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดชายแดน ภาคใต้
นพฎล สุทธิพงษ์
โรงพยาบาลแม่ลาน อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี 94180
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำ รวจ (survey research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการใช้ของ ตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้านของ balanced scorecard (BSC) 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสถานการณ์ของหน่วยบริการสาธารณสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขนาดองค์กรและเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับระดับการใช้ตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้านของ BSC 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการใช้ตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้านของ BSC กับผลการดำเนินงานโดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้อำนวยการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 177 แห่ง ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเป็นข้อมูลระดับของการใช้ตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้านของ BSC พบว่าตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการดำเนินงานภายใน และด้านการเรียนรู้และเติบโต อยู่ในระดับปานกลาง และข้อมูลผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอื่นที่มีขนาดใกล้เคียงกันพบว่าผลการดำเนินงานด้านลูกค้า และกระบวนการดำเนินงานภายในอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการเงินและด้านการเรียนรู้และเติบโตอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนการทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างขนาดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกับระดับการใช้ตัวชี้วัด 4 ด้านของ BSC ผลที่ได้รับพบว่าขนาดขององค์กรมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับการใช้ตัวชี้วัดทางการเงินและกระบวนการดำเนินงานภายในขององค์กรความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับระดับการใช้ตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้านของ BSC ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างระดับการใช้ตัวชี้วัด ทั้ง 4 ด้านของ BSC กับผลการดำเนินงานโดยใช้การวิเคราะห์ ความถดถอยเชิงพหุคูณได้สมการพยากรณ์ คือ ผลการดำเนินงาน = 24.348 + 0.092 (ตัวชี้วัดด้านการเงิน) + 0.152 (ตัวชี้วัดด้านลูกค้า) + 0.201 (ตัวชี้วัดด้านกระบวนการดำเนินงานภายใน) + 0.520 (ตัวชี้วัดด้านการเรียนรู้และเติบโต) จากการศึกษาพบว่าในส่วนการเรียนรู้และเติบโต มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลการดำเนินงาน
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.