Prevalence and Problem-Solving Method of EDTA-Dependent Pseudothrombocytopenia at Songklanagarind Hospital
Abstract
Objective: To determine the prevalence of ethylenediamine tetraacetic acid (EDTA) dependent pseudo-thrombocytopenia (EDTA-PTCP) at Songklanagarind Hospital and to solve the problem of platelet clumping in EDTA-PTCP blood specimens.
Material and Method: Blood specimens were collected with EDTA as an anticoagulant at Hematology Unit, Department of Pathology, Songklanagarind Hospital from 2011 to 2012. A total of 202 specimens including 158 EDTA-PTCP and 44 normal individuals with non EDTA-PTCP were studied. Five milligram kanamycin was added to 0.5 ml of the blood specimens and mixed for 5 minutes with a vortex mixer at the speed of 2000 rpm. The specimens were then analysed for platelet count by automated blood cell analyzer.
Results: Prevalence of EDTA-PTCP at Songklanagarind Hospital was 0.04% (158 in 384,324 blood specimens). When kanamycin was added to 158 EDTA-PTCP specimens, the dissociation of clumping platelet was detected in 130 specimens. The mean platelet count and standard deviation in the EDTA-PTCP group after adding kanamycin (234.5±104.0x103/μL) was significantly higher than those of without kanamycin (119.5±87.1x103/μL) (p-value<0.001). There was no significant change in the platelet count of specimens from normal group. However, kanamycin caused crenated and acidically stained red blood cells, palely stained platelet whereas no morphological change was observed in white blood cells.
Conclusion: The method of adding kanamycin to EDTA-PTCP blood specimens is able to dissociate the platelet clumping which is useful for evaluation of precise platelet count.
ความชุกและวิธีแก้ปัญหาของภาวะเกล็ดเลือดต่ำปลอม เนื่องจากสาร EDTA ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
ชวดี นพรัตน์*
ดาริน ชวะกูล
นวลตา นัคราบัณฑิตย์
หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วัตถุประสงค์: รายงานความชุกของภาวะเกล็ดเลือดต่ำปลอม เนื่องจากเกล็ดเลือดเกาะกลุ่มเมื่อเจาะเก็บเลือด โดยใช้สาร ethylenediamine tetraacetic acid (EDTA) [EDTA-dependent pseudothrombocytopenia (EDTA-PTCP)] ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และแก้ปัญหาเกล็ดเลือดเกาะกลุ่มในตัวอย่างที่ตรวจพบภาวะ EDTA-PTCP
วัสดุและวิธีการ: เก็บตัวอย่างเลือดที่ใส่สาร EDTA เป็นสารกันเลือดแข็ง ที่หน่วยโลหิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555 จำนวน 202 ราย ประกอบด้วยกลุ่มที่ตรวจพบ EDTA-PTCP 158 ราย และกลุ่มปกติที่ตรวจไม่พบ EDTA-PTCP 44 ราย ใส่ kanamycin 5 มิลลิกรัม ในตัวอย่างเลือด 0.5 มิลลิลิตร ผสมด้วยเครื่องผสมสารความเร็ว 2,000 รอบต่อนาที นาน 5 นาที แล้วนำไปตรวจนับเกล็ดเลือดด้วยเครื่องวิเคราะห์ เม็ดเลือดอัตโนมัติ
ผลการศึกษา: ความชุกของภาวะ EDTA-PTCP ที่ตรวจพบที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คิดเป็นร้อยละ 0.04 (158 จากทั้งหมด 384,324 ราย) เมื่อเติม kanamycin ลงในตัวอย่างเลือดที่พบภาวะ EDTA-PTCP พบว่าเกล็ดเลือด กระจายตัวได้ดีขึ้น 130 ราย ค่าเฉลี่ยจำนวนเกล็ดเลือดในกลุ่ม EDTA-PTCP หลังเติม kanamycin (234.5± 104.0x103 /μL) สูงกว่าก่อนเติม (119.5±87.1x103 /μL) อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติ (p-value<0.001) ในขณะที่ กลุ่มปกติ ไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจำ นวนเกล็ดเลือดก่อนและหลังเติม kanamycin เมื่อตรวจดูรูปร่างลักษณะเซลล์เม็ดเลือดจากสเมียร์เลือดย้อมสีไรท์ พบว่า kanamycin ทำให้เม็ดเลือดแดงหดตัวและติดสีแดงมากขึ้น เกล็ดเลือด ติดสีจางลง ในขณะที่เม็ดเลือดขาวยังคงมีรูปร่างและการติดสีปกติ
สรุป: วิธีเติม kanamycin ลงในตัวอย่างเลือดที่ตรวจพบภาวะ EDTA-PTCP สามารถทำให้เกล็ดเลือดที่เกาะกลุ่ม มีการกระจายตัวได้ ซึ่งมีประโยชน์ในการตรวจนับค่าเกล็ดเลือดให้แม่นยำขึ้น
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.