Evaluation of a Novel Manikin-Based Amniotomy Simulator
Abstract
Objective: To evaluate satisfaction of a novel manikin-based amniotomy simulator by obstetricians and medical students.
Material and Method: The simulator was designed to simulate pregnant women in the active phase of labor with a 3-cm cervical dilatation, 100% effacement, and intact fetal membrane. The simulator consists of an amniotomy box inserted inside a pelvic training model. The front opening of amniotomy box is covered with 1.5-mm thick rubber sheet with a 3-cm diameter central hole. The upper opening is for loading a simulated amniotic sac which is made from a male condom filled with 50 ml of water. Experienced obstetricians and fifth-year medical students evaluated satisfaction of the simulator on a scale of 0-10. The medical students evaluated their confidence in performing amniotomy (scale 0-10); immediately after the lecture, immediately after the simulator session, and after completion of the rotation.
Results: Nineteen obstetricians rated the simulator with overall satisfaction score of 6.9±1.4 (mean±S.D.) from 10 with lowest satisfactory score of 5.9±2.5 for cervical consistency. One hundred and forty-eight fifth-year medical students were trained for amniotomy during the Health and Diseases of Women rotation throughout the academic year 2012. Each student practised with the simulator on average 2.7±1.3 times. The confidence level for performing amniotomy was 5.3±2.2 after the lecture and markedly improved to 7.9±1.3 after practising with the simulator (p<0.001). Medical students reported the helpfulness score of this simulator during their training on average of 8.3±1.4.
Conclusion: The simulator can be used for training medical students in amniotomy. Further modifications should be conducted to improve the satisfaction.
การประเมินการใช้หุ่นฝึกเจาะถุงน้ำคร่ำแบบใหม่
ศิริรัตน์ ธำรงวัฒน์
หเทิญ ถิ่นธารา*
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการใช้หุ่นฝึกเจาะถุงน้ำคร่ำ ที่ออกแบบใหม่โดยสูติแพทย์และนักศึกษาแพทย์
วัสดุและวิธีการ: ประดิษฐ์หุ่นฝึกเสมือนสตรีตั้งครรภ์ในระยะเจ็บครรภ์คลอดที่ปากมดลูกเปิด 3 เซนติเมตร บางตัว ร้อยละ 100 และถุงน้ำคร่ำ ยังไม่แตก หุ่นฝึกประกอบด้วยกล่องใส่ถุงน้ำคร่ำ ติดตั้งไว้ภายในหุ่นฝึกตรวจภายใน ช่องเปิดด้านหน้าของกล่องถุงน้ำคร่ำ เป็นแผ่นยางหนา 1.5 มิลลิเมตร เจาะรูกลมตรงกลางขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร และช่องเปิดด้านบนสำ หรับใส่และเปลี่ยนถุงน้ำคร่ำจำลองที่เตรียมจากถุงยางอนามัยชาย บรรจุน้ำ 50 มิลลิลิตร ประเมินความพึงพอใจของการใช้หุ่นฝึกโดยสูติแพทย์และนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 โดยนักศึกษาแพทย์ประเมินความมั่นใจในการเจาะถุงน้ำคร่ำ 3 ครั้ง คือ ทันทีหลังจบการฟังบรรยาย ทันทีหลังจบ การฝึกกับหุ่น และครั้งสุดท้ายเมื่อจบการเรียนรายวิชาสุขภาพและโรคของสตรี
ผลการศึกษา: คะแนนความพึงพอใจของสูติแพทย์ 19 คน เท่ากับ 6.9±1.4 จาก 10 คะแนน (ค่าเฉลี่ย± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ความนุ่มของปากมดลูกได้คะแนนต่ำสุด เท่ากับ 5.9±2.5 นักศึกษาแพทย์ 148 คน ผ่านการเรียนสูติศาสตร์หัตถการเจาะถุงน้ำคร่ำ ในปีการศึกษา 2555 นักศึกษาแพทย์ได้ฝึกกับหุ่นคนละ 2.7±1.3 ครั้ง ระดับความมั่นใจในการเจาะถุงน้ำคร่ำ เท่ากับ 5.3±2.2 หลังการฟังบรรยาย และเพิ่มขึ้นเป็น 7.9±1.3 หลังฝึกกับหุ่น (p<0.001) นักศึกษาแพทย์ให้คะแนนการมีส่วนช่วยในการเรียนรู้ของหุ่น เท่ากับ 8.3±1.4
สรุป: สามารถใช้หุ่นฝึกเจาะถุงน้ำคร่ำ เพื่อการฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์ได้ดี แต่ควรมีการพัฒนาจุดบกพร่อง เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อไป
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.