Red Cell Phenotyping in Thalassemia Patient at Songklanagarind Hospital
Abstract
The purpose of this study was to determine the frequency of Rh, Kidd and Duffy phenotypes in thalassemia major patients with regular transfusion which may develop antibodies to red cell antigens that can be a significant complication of transfusion therapy. Red cell phenotyping for thalassemic patients at Songklanagarind Hospital will be helpful in antibody identification of single or multiple alloantibodies such as anti-C, anti-c, anti-e, anti-Jka, anti-Jkb, anti-Fya, and anti-Fyb. In addition, to understand phenotypes, antigens, and other blood group information may help in choosing the right blood for the patients.
A total of 100 thalassemic patients between 2002-2014 who had not been previously typed, were the subjects of this study. Antigens of Rh, Kidd and Duffy systems were determined by the standard conventional tube method of red cell typing, column agglutination technique (CAT) and gel technique.
The results of probable genotype in Rh system were DCe/DCe (R1R1) = 41%, DCe/DcE (R1R2) = 41%, DCe/Dce (R1R0) = 11%, DcE/DcE (R2R2) = 3%, DCE/DcE (RZR2) = 3% and DcE/Dce (R2R0) = 1%. In Kidd system, the phenotypes were Jk (a+b+) = 61%, Jk (a-b+) = 27%, Jk (a+b-) = 12%, and Jk (a-b-) = 0% and in Duffy system, the phenotypes were Fy (a+b+) = 55% Fy (a+b-) = 42%, Fy (a-b+) = 2% and Fy (a-b-) = 1%. This study showed that 41% of the patients had all antigens in Rh system (C, c, D, E, e), 61% of the patients were Jk (a+b+) phenotype and 55% of the patients were Fy (a+b+) phenotype.
In conclusion, studying the frequency of Rh, Kidd and Duffy antigens in thalassemic major patients can be helpful in selecting antigen negative blood in order to prevent red all alloimmunization espectially in emergency situation.
การหาชนิดของแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยธาลัสซีเมียในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
พรกนก ศักดิ์ศรีศิริสกุล*, วรรณวิมล ยินดี, นาฎสุดา ถาวรสุข
ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถี่ของแอนติเจนระบบ Rh, Kidd และ Duffy ในผู้ป่วยธาลัสซีเมียซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับเลือดและส่วนประกอบของเลือดเป็นประจำ มีโอกาสที่จะถูกกระตุ้นการสร้าง alloantibodyที่มีความสำคัญทางคลินิก เช่น anti-C, anti-c, anti-E, anti-e, anti-Jka, anti-Jkb, anti-Fya และ anti-Fyb การหาชนิดของแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง (red cell typing) ช่วยให้แยกชนิดของแอนติบอดีได้ง่ายขึ้น เมื่อผู้ป่วยมี multiple alloantibodies นอกจากนี้ถ้าทราบชนิดของแอนติเจนของ blood group อื่นๆ ที่สำคัญของผู้ป่วยจะช่วยให้สามารถเลือกเลือดที่ compatible ให้ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว
ศึกษาโดยนำตัวอย่างเลือดผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ส่งขอเลือดที่หน่วยคลังเลือดและเวชศาสตร์บริการโลหิตโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2557 ยังไม่ทราบชนิดของแอนติเจนจำนวน 100 ราย ตรวจหาชนิดของแอนติเจนบนผิวเม็ดเลือดแดงในระบบ Rh, Kidd และ Duffy โดยทดสอบกับ standard antiseraชนิดต่างๆ ประกอบด้วย anti-C, anti-c, anti-E, anti-e, anti-Jka, anti-Jkb, anti-Fya และ anti-Fyb โดยใช้วิธีมาตรฐาน standard (tube method) วิธี column agglutination technique (CAT) และ gel card technique
พบว่าผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่มีแอนติเจนบนผิวเม็ดเลือดแดงในระบบ Rh ซึ่งมี probable genotype เป็น DCe/DCe (R1R1) ร้อยละ 41 DCe/DcE (R1R2) ร้อยละ 41 DCe/Dce (R1R0) ร้อยละ 11 DcE/DcE (R2R2) ร้อยละ 3 DCE/DcE (RZR2) ร้อยละ 3 และ DcE/Dce (R2R0 ) ร้อยละ 1 ในระบบ Kidd มี phenotype เป็น Jk (a+b+) ร้อยละ 61 Jk (a-b+) ร้อยละ 27 Jk (a+b-) ร้อยละ 12 และ Jk (a-b-) ร้อยละ 0 ในระบบDuffy มี phenotype เป็น Fy (a+b+) ร้อยละ 55 Fy (a+b-) ร้อยละ 45 Fy (a-b+) ร้อยละ 2 และ Fy (a-b-) ร้อยละ 1 ผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ตรวจพบแอนติเจนบนผิวเม็ดเลือดแดงในระบบ Rh ทุกตัว (C, c, D, E, e) ร้อยละ 41ในระบบ Kidd มี Jk (a+b+) phenotype ร้อยละ 61 ในระบบ Duffy มี phenotype Fy (a+b+) ร้อยละ 55
โดยสรุปการศึกษาความถี่ของแอนติเจนระบบ Rh, Kidd และ Duffy ของผู้ป่วยธาลัสซีเมียมีประโยชน์ในการเลือกเลือดที่ไม่มีแอนติเจนชนิดเดียวกับผู้ป่วยเพื่อป้องกันการสร้างแอนติบอดี ทำให้สามารถเตรียมเลือดให้ผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินได้เร็วขึ้นและเป็นการประหยัดค่าน้ำยาได้หลายเท่า
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.