Detection of Clinically Significant Minor Blood Group Antigens of Blood Donors in Songklanagarind Hospital
Abstract
Objective: The purpose of this study was to organize the data of blood donors’ antigens into a database for providing compatible blood for patients, especially those who are activated to produce antibodies.
Material and Method: Three hundred blood samples obtained from volunteer blood donors who had donated at least 3 times from the Blood Bank and Transfusion Medicine Unit of Songklanagarind Hospital were studied for antigen in the Rh, MNSs, P, Lewis, Kidd, Kell and Duffy Systems. Each sample was tested by gel test using neutral and LISS/Coombs gel of Bio-Rad Company.
Results: The data of 300 donors ABO-typed, blood group 0 was the most common (40.38%) followed by group B (30.77%), group A (17.31%) and group AB (7.3%). In this study; Rh (D+) was found in sample 100%, C(+) 94.23%, E(+) 38.04%, c(+) 47.87% and e(+) 96.00%. The most common phenotype was CCDee (50.13%), which was similar to other studies. Among other minor blood group were as follow: MNSs, the most common phenotype was MNss (46.33 %) and Mia (+) (9.80%). P system, 35% were positive with anti-P1. In the Lewis, the incidence of Le (a-b-) was 12.28% which is similar with other findings in Thai population. Kidd system, Jk (a-b-) was not found, which is considered a rare phenotype among Thai people. For the Kell system, kk was the most common phenotype (99.50%). Duffy system, Fya and Fy (a+b-) is the most common antigen and phenotype in this study which was similar to other studies.
Conclusion: In addition to antigens in the ABO system, red blood cell antigens detected in blood donors were consistent with antigens in the database of the Thai population. Antigen data of blood donors can be to form the database for providing compatible blood for patients. Moreover, antigen data is also useful for providing safely compatible blood immediately for patients who have been activated to produce antibodies.
การตรวจหาแอนติเจนหมู่โลหิตย่อยที่มีความสำคัญทางคลินิกของผู้บริจาคโลหิตในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
ดารินต์ณัฏ บัวทอง1*, สรัญญา หัสรินทร ์2
1คณะเทคนิคการแพทย์ 2ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์: เพื่อตรวจหาแอนติเจนของหมู่โลหิตย่อยที่มีความสำคัญทางคลินิกในผู้บริจาคโลหิตและเก็บเป็นฐานข้อมูลในการจัดหาโลหิตที่จะทำการทดสอบความเข้ากันได้ของโลหิตก่อนนำไปให้ผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ถูกกระตุ้นให้มีการสร้างแอนติบอดี
วัสดุและวิธีการ: ตัวอย่างโลหิตผู้บริจาคโลหิตประจำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป จำนวน 300 ราย จากหน่วยคลังเลือดและเวชศาสตร์การบริการโลหิต โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ตรวจหาแอนติเจนในระบบ Rh, MNSs และ Mia, P, Lewis, Kidd, Kell และ Duffy ด้วยวิธีเจล โดยใช้ Neutral และ LISS/Coombs gel ของบริษัท Bio-rad
ผลการศึกษา: จากการเก็บข้อมูลระบบ ABO พบ หมู่โลหิต 0 มากสุด (ร้อยละ 40.38) รองลงมาได้แก่ หมู่ B ร้อยละ 30.77 หมู่ A ร้อยละ 17.31 และ หมู่ AB ร้อยละ 7.3 และจากการทดสอบหมู่โลหิตระบบ Rh พบ D (+) ร้อยละ 100 C (+) ร้อยละ 94.23 E (+) ร้อยละ 38.04 c (+) ร้อยละ 47.87 และ e (+) ร้อยละ 96.00 ฟีโนไทป์ส่วนใหญ่เป็น CCDee (ร้อยละ 50.13) ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานอื่นๆ สำหรับการทดสอบระบบอื่น ได้แก่ ระบบ MNSs ฟีโนไทป์ที่พบมากสุด MNss ร้อยละ 46.33 และพบ Mia (+) เพียง ร้อยละ 9.80 ระบบ P พบ แอนติเจน P1 บวกร้อยละ 35 ระบบ Lewis พบ Le (a-b-) เพียงร้อยละ 12.28 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในประชากรไทย ระบบKidd ไม่พบ Jk (a-b-) ซึ่งเป็นฟีโนไทป์ที่พบน้อยมากในคนไทย ระบบ Kell พบ kk มากสุด (ร้อยละ 99.50) ระบบ Duffy พบ Fya และฟีโนไทป์ Fy (a+b-) มากสุด
สรุป: แอนติเจนบนเม็ดโลหิตแดงของหมู่โลหิตที่นอกเหนือจากระบบ ABO ที่ตรวจพบในผู้บริจาคโลหิตสอดคล้องกับข้อมูลในคนไทย และข้อมูลเหล่านี้สามารถเก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูล ซึ่งการมีข้อมูลผู้บริจาคประจำที่ไม่มีแอนติเจนต่อแอนติบอดีที่มีความสำคัญทางคลินิกทำให้ง่ายต่อการติดตามผู้บริจาค สำหรับการจัดหาโลหิตให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับโลหิตเป็นประจำซึ่งมีโอกาสถูกกระตุ้นให้สร้างแอนติบอดี และจากการศึกษาเหล่านี้ยังทำให้ทราบความยากง่ายในการหาโลหิตในประชากร ทำให้เกิดแนวทางในการจัดหาโลหิตที่หายากของโรงพยาบาล เพื่อความรวดเร็วในการจัดหาโลหิตให้ผู้ป่วยมากขึ้น
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.