Hospital and Disaster Preparedness in Children
Abstract
The frequency of natural disasters occurring throughout the world has been increasing recently. Earthquakes are one of the serious natural disasters which are almost impossible to predict. Manmade or terrorist-initiated disasters are happened. The victims of disasters or mass casualty incidents are both children and adult that required the proper triage. Disaster preparedness and mitigation are appropriate strategies to reduce vulnerability from disaster.
Children have unique physical, emotional, and developmental that they are a vulnerable population during disasters. Pediatric disaster preparedness or emergency management should have to plan, prepare, practice, and partner or network that hospital system need to meet the demands of children. These demands include health care, mental health, family reunification, and specialized treatment.
โรงพยาบาลและการเตรียมพร้อมรับภาวะพิบัติภัยในเด็ก
ปิยวรรณ เชียงไกรเวช1*
ภินวนันทน์ นิมิตรพันธ์2
วรรณิภา เสนุภัย3
1ภาควิชาศัลยศาสตร์ 2หน่วยอุบัติเหตุ ภาควิชาศัลยศาสตร์ 3แผนกฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
*E-mail: cpiyawan@medicine.psu.ac.th
Songkla Med J 2016;34(2):83-92
รับต้นฉบับวันที่ 23 กรกฎาคม 2559 รับลงตีพิมพ์วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559
บทคัดย่อ:
ในโลกปัจจุบันพบความถี่ของการเกิดภาวะพิบัติภัยธรรมชาติ (natural disasters) เพิ่มขึ้น มีทั้งแผ่นดินไหว(earthquakes) เป็นพิบัติภัยธรรมชาติที่สำคัญซึ่งไม่อาจคาดการณ์การเกิดล่วงหน้าได้ รวมทั้งพิบัติภัยจากการก่อการร้าย ที่ส่งผลให้มีการบาดเจ็บหมู่ หรืออุบัติเหตุหมู่ (mass casualty) โดยในกลุ่มนั้นอาจมีเด็กร่วมอยู่ด้วยเมื่อเกิดเหตุขึ้นจำเป็นต้องมีการคัดแยกผู้บาดเจ็บ (triage) อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพการเตรียมพร้อมรับ (preparedness) และการบรรเทา (mitigation) ในภาวะพิบัติภัยเป็นแนวทางที่สำคัญในการลดความสูญเสียจากพิบัติภัย
เด็กมีความจำเพาะในด้านกายวิภาค อารมณ์ และพัฒนาการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือในระหว่างเกิดภาวะพิบัติภัย แนวทางของโรงพยาบาลเพื่อการเตรียมพร้อมรับภาวะพิบัติภัย หรือฉุกเฉินในเด็ก ได้แก่ การวางแผน (plan) การเตรียม (prepare) การฝึกฝน (practice) และพิจารณาผู้ร่วม (partner) หรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งควรจัดการอย่างเป็นระบบตามความต้องการของเด็ก ทั้งการดูแลสุขภาพกายใจ การอยู่ร่วมกับครอบครัว และการรักษาที่จำเพาะ
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.