Incidence and Risk Factors of Immediate Complication after Transthoracic Needle Biopsy of Pulmonary Lesions at Songklanagarind Hospital
Abstract
Purpose: To evaluate the incidence, the type and the risk factors of complications from transthoracic needle biopsies of pulmonary lesions at Songklanagarind Hospital.
Material and Method: We analyzed the data from 182 patients who had undergone 131 fluoroscopically guided and 69 computed tomography guided lung biopsies at Songklanagarind Hospital from June 2011 to June 2012. The incidence and type of complications were determined. The risk factors for complications were evaluated using multivariate logistic regression analysis. P-value less than 0.05 was considered
statistically significant.
Results: The overall incidence of complications was 22.5%.The most common complication was pneumothorax (15.5%) and the second most common was hemoptysis (8.5%). Severe complications in this study were less frequent including chest tube placement for pneumothorax (4.5%) and endotracheal
intubation for hemoptysis (1%). The significant risk factors in the CT guided biopsy group were lesion characteristic and greater lesion depth. Lesion characteristic was also the significant risk factor in the fluoroscopically guided biopsy group.
Conclusion: The most common complication after transthoracic needle biopsy was pneumothorax. The predominant risk factors included ill-defined lesion and greater lesion depth.
อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลันภายหลังการเจาะตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคในปอดผ่านผนังทรวงอกในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
ถิรภัทร โฆษะวิวัฒน์
สิตางค์ นิรัติศัยกุล
จิตต์ปรีดี สังข์ศิริ
กีรติ หงษ์สกุล*
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาอุบัติการณ์การเกิด ชนิดของภาวะแทรกซ้อน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคในปอดผ่านผิวหนังทรวงอก
วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคในปอดผ่านผิวหนังทรวงอกโดยใช้เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปีและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือนำทางในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 - มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยอุบัติการณ์และชนิดของการเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการเจาะตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคในปอดผ่านผิวหนังทรวงอก ได้รับการวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้รับการวิเคราะห์โดยใช้ Multivariate analysis โดยค่า p-value น้อยกว่า 0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษา: จากการศึกษาผู้ป่วย 182 รายที่ได้รับการตัดชิ้นเนื้อในปอดผ่านผนังทรวงอกรวมทั้งหมด 200 ครั้ง พบภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นร้อยละ 22.5 โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือ ลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดร้อยละ 15.5 รองลงมาได้แก่ อาการไอเป็นเลือดร้อยละ 8.5 ส่วนภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ต้องได้รับการรักษาพบได้น้อย คิดเป็นร้อยละ 4.5 ในผู้ที่ต้องใส่ท่อระบายลมจากช่องเยื่อหุ้มปอดและร้อยละ 1 ในผู้ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มที่ใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือนำทางได้แก่ ความลึกของรอยโรค (p=0.003)และลักษณะของรอยโรคที่เป็นลักษณะรอยโรคไม่ชัดเจน (p=0.029) ในกลุ่มที่ใช้เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปีเป็นเครื่องมือนำทางได้แก่ ลักษณะของรอยโรคที่เป็นลักษณะรอยโรคไม่ชัดเจน (p=0.024)
สรุป: การเกิดภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดเป็นภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุด ภายหลังการตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคในปอดผ่านผนังทรวงอกโดยใช้เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปีและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือนำทางรองลงมาได้แก่อาการไอเป็นเลือด ส่วนปัจจัยที่มีผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ลักษณะของรอยโรคที่เป็นลักษณะรอยโรคไม่ชัดเจนและความลึกของรอยโรค
Material and Method: We analyzed the data from 182 patients who had undergone 131 fluoroscopically guided and 69 computed tomography guided lung biopsies at Songklanagarind Hospital from June 2011 to June 2012. The incidence and type of complications were determined. The risk factors for complications were evaluated using multivariate logistic regression analysis. P-value less than 0.05 was considered
statistically significant.
Results: The overall incidence of complications was 22.5%.The most common complication was pneumothorax (15.5%) and the second most common was hemoptysis (8.5%). Severe complications in this study were less frequent including chest tube placement for pneumothorax (4.5%) and endotracheal
intubation for hemoptysis (1%). The significant risk factors in the CT guided biopsy group were lesion characteristic and greater lesion depth. Lesion characteristic was also the significant risk factor in the fluoroscopically guided biopsy group.
Conclusion: The most common complication after transthoracic needle biopsy was pneumothorax. The predominant risk factors included ill-defined lesion and greater lesion depth.
อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลันภายหลังการเจาะตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคในปอดผ่านผนังทรวงอกในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
ถิรภัทร โฆษะวิวัฒน์
สิตางค์ นิรัติศัยกุล
จิตต์ปรีดี สังข์ศิริ
กีรติ หงษ์สกุล*
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาอุบัติการณ์การเกิด ชนิดของภาวะแทรกซ้อน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคในปอดผ่านผิวหนังทรวงอก
วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคในปอดผ่านผิวหนังทรวงอกโดยใช้เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปีและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือนำทางในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 - มิถุนายน พ.ศ. 2555 โดยอุบัติการณ์และชนิดของการเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการเจาะตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคในปอดผ่านผิวหนังทรวงอก ได้รับการวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้รับการวิเคราะห์โดยใช้ Multivariate analysis โดยค่า p-value น้อยกว่า 0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษา: จากการศึกษาผู้ป่วย 182 รายที่ได้รับการตัดชิ้นเนื้อในปอดผ่านผนังทรวงอกรวมทั้งหมด 200 ครั้ง พบภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นร้อยละ 22.5 โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือ ลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดร้อยละ 15.5 รองลงมาได้แก่ อาการไอเป็นเลือดร้อยละ 8.5 ส่วนภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ต้องได้รับการรักษาพบได้น้อย คิดเป็นร้อยละ 4.5 ในผู้ที่ต้องใส่ท่อระบายลมจากช่องเยื่อหุ้มปอดและร้อยละ 1 ในผู้ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มที่ใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือนำทางได้แก่ ความลึกของรอยโรค (p=0.003)และลักษณะของรอยโรคที่เป็นลักษณะรอยโรคไม่ชัดเจน (p=0.029) ในกลุ่มที่ใช้เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปีเป็นเครื่องมือนำทางได้แก่ ลักษณะของรอยโรคที่เป็นลักษณะรอยโรคไม่ชัดเจน (p=0.024)
สรุป: การเกิดภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดเป็นภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุด ภายหลังการตัดชิ้นเนื้อจากรอยโรคในปอดผ่านผนังทรวงอกโดยใช้เอกซเรย์ฟลูโอโรสโคปีและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือนำทางรองลงมาได้แก่อาการไอเป็นเลือด ส่วนปัจจัยที่มีผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ลักษณะของรอยโรคที่เป็นลักษณะรอยโรคไม่ชัดเจนและความลึกของรอยโรค
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.