Comparison of Efficacy between Low-Residue Diet and Clear-Liquid Diet in Colonoscopic Bowel Preparation in Surgical Clinic
Abstract
Objective: To compare bowel-cleansing efficacy of 2 bowel preparation protocols.
Material and Method: A prospective randomized controlled trial involving 224 patients from the surgical out patient department were randomized to receive either a low-residue diet before 08:00 a.m. followed by a clear-liquid diet until 12:00 p.m. (112 patients: protocol 1) or a low-residue diet until 04:00 p.m. followed by a clear-liquid diet or water until 12.00 p.m. the day before colonoscopy (112 patients: protocol 2). Both groups had the same bowel preparation with sodium phosphate solution (2 x 45-ml., 08:00 p.m./ 06:00 a.m.). The cleansing- efficacy of the bowel preparation was rated according to the modified Rajawithi Hospital bowel preparation score scale, patient satisfaction with bowel preparation, and side effects of the 2 protocols was assessed using a questionnaire. The comparison of efficacy between the 2 groups were made using Fisher’s exact test and chi square test.
Result: The cleansing-efficacy of protocol 2 was significantly higher than that of protocol 1 (p=0.03). Satisfaction with bowel preparation was not different (p=0.59). Side effects also were not different, except for a greater feeling of hunger among those given protocol 1 (p=0.001).
Conclusion: The low-residue diet using protocol 2 achieved a better bowel-cleansing efficacy and reduced the feeling of hunger better than protocol 1.
เปรียบเทียบประสิทธิผลของการรับประทานอาหารกากน้อยกับอาหารเหลวใสก่อนการรับประทานยาระบายในการทำความสะอาดลำไส้ก่อนส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในผู้ป่วยนอกแผนกศัลยกรรม
โสภณา ว่องทวี1*
โสภา บุญวิริยะ2
ธีรนุช บุญพิพัฒนาพงศ์3
ขนิษฐา ศรีวรรณยศ1
มีนา ทองวงศ์1
1ฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 2สถาบันโรคระบบทางเดินอาหารและตับ นันทนา-เกรียงไกร โชติวัฒนะพันธุ์
3ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
บทคัดย่อ:
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความแตกต่างของความสะอาดของลำไส้ใหญ่ อาการข้างเคียง และความพึงพอใจของผู้ป่วยจากแนวปฏิบัติการเตรียมความสะอาดของลำไส้ใหญ่ 2 แบบ
วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่ม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่นัดมาส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั้งหมดแบบผู้ป่วยนอก จำนวน 224 ราย จัดให้ได้รับการเตรียมความสะอาดของลำไส้ใหญ่ ตามแนวปฏิบัติที่ 1 จำนวน 112 ราย และอีก 112 ราย เตรียมตามแนวปฏิบัติที่ 2 โดยทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันที่ 1 วันก่อนส่องกล้องให้ผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติที่ 1 รับประทานอาหารกากน้อยถึง 08.00 น. และรับประทานอาหารเหลวใสถึง 24.00 น. ส่วนกลุ่มแนวปฏิบัติที่ 2 รับประทานอาหารกากน้อยถึง 16.00 น. และรับประทานอาหารเหลวใสหรือน้ำเปล่าถึง 24.00 น. โดยทั้ง 2 กลุ่มปฏิบัติเหมือนกันในส่วนของรับประทานยาระบายโซเดียมฟอสเฟตโซลูชันครั้งละ 45 มิลลิลิตร จำนวน 2 ครั้ง เวลา 20.00 น. 1 วันก่อนการส่องกล้อง และ 06.00 น. ของวันส่องกล้องเครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินระดับความสะอาดของลำไส้ดัดแปลงจากการแบ่งระดับความสะอาดของลำไส้ใหญ่โรงพยาบาลราชวิถี แบบประเมินอาการข้างเคียงและแบบประเมินความพึงพอใจที่พัฒนาโดยนักวิจัย เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความสะอาดของลำไส้ อาการข้างเคียง และความพึงพอใจระหว่างกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ สถิติ Fisher’s exact test และ chi square test
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมความสะอาดของลำไส้ใหญ่ด้วยแนวปฏิบัติที่ 2 ที่มีความสะอาดในระดับที่แพทย์ยอมรับได้มากที่สุดมีจำนวนมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมด้วยแนวปฏิบัติที่ 1 (p=0.03) ผู้ป่วยที่ได้รับการเตรียมด้วยแนวปฏิบัติทั้ง 2 แบบไม่พบความแตกต่างของอาการข้างเคียง (p=0.37) ยกเว้นอาการหิวที่พบในแนวปฏิบัติที่ 1 มากกว่าแบบที่ 2 (p<0.001) อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติการเตรียมความสะอาดลำไส้ทั้ง 2 แบบ (p=0.59)
สรุป: การเตรียมความสะอาดลำไส้ใหญ่ก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทั้งหมดด้วยแนวปฏิบัติที่ 2 โดยให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารกากน้อยถึง 16.00 น. และรับประทานอาหารเหลวใสหรือน้ำเปล่าถึง 24.00 น. 1 วันก่อนส่องกล้องร่วมกับยาระบายทำให้ได้ลำไส้ที่สะอาดเพียงพอและยังช่วยลดอาการหิวจากการเตรียมลำไส้ลงได้
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.