The Invention of a Prototype Breast Self-Exam Device for Breast Mass Screening in Breast Phantom: A Pilot Study
Abstract
Breast cancer is the most common causes of death from cancer in Thai women. Therefore, the early detection and screening plays a vital role for reduction in breast cancer mortality. A typical method of the screening is the Palpatory Breast-Self Examination (PBSE). However, the effectiveness of detection depend on the examiner’s proficiency and confidence to make a decision in the abnormal breast. So, the purposes of this study were to invent a Breast–Self Exam Device (BSED) for screening of breast lumps in breast phantom. We designed a device by utilizing a principle of mechanical imaging using a pressure sensor. Data from the pressure sensor were analyzed from microcontroller board and program and were shown as shades of image. To evaluate the device, the number of breast lump detecting was compared between BSED and PBSE and the validity of BSED was assessed by calculating diagnostic test and measuring the satisfaction of examiners. The results of this study revealed that there was no statistically significant difference between BSED and PBSE (p<0.05). The validity of BSED had sensitivity = 30% specificity = 46% PPV = 36% NPV = 40% accuracy = 41% under the criteria that the BSED found at least one lump. The satisfaction was evaluated as good. From this work, there remain a limitation of usability and efficiency. Further study is needed to improve and develop the device system.
การประดิษฐ์เครื่องต้นแบบการตรวจเต้านมด้วยตนเองสำหรับการตรวจคัดกรองหาก้อนเนื้อบริเวณเต้านมในแบบจำลองเต้านม: การศึกษานำร่อง
อัศนัย ประพันธ์1*
นันทวัฒน์ อู่ดี1
สุวิทย์ กิระวิทยา2
ธงไชย พิพัฒน์พงษ์เลิศ1
ธีระพงษ์ ระโหฐาน1
วีรพล จันทร์หอม1
1Department of Radiological Technology, Faculty of Allied Health Sciences,
2Department of Electrical and Computer Engineering, Faculty of Engineering,
Naresuan University, Phitsanulok, 65000, Thailand.
*E-mail: ausanaip@nu.ac.th
Songkla Med J 2016;34(2):51-60
บทคัดย่อ:
มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเสียชีวิตจากมะเร็งในผู้หญิงไทย ดังนั้นการตรวจพบ ในระยะเริ่มต้นหรือการตรวจคัดกรองจึงมีความสำคัญ โดยทั่วไปการตรวจที่ง่ายและสามารถทำได้ด้วยตนเอง คือวิธีการคลำด้วยมือ แต่อย่างไรก็ตามการคลำด้วยมือมีข้อจำกัดในเรื่องทักษะการคลำของผู้ตรวจและ การขาดความมั่นใจในการตัดสินใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐ์เครื่องต้นแบบตรวจเต้านมด้วยตนเองสำหรับการคัดกรองก้อนในเต้านม โดยการออกแบบเครื่องมือที่อาศัยหลักการสร้างภาพด้วยการนำเข้าแบบเชิงกลจากเซนเซอร์วัดแรงกดเป็นตัวรับสัญญาณที่เชื่อมต่อเข้ากับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์และประมวลผลโดยแสดงผลที่ได้เป็นภาพที่มีเฉดสีแตกต่างกัน จากนั้นประเมินความสามารถของเครื่องมือที่สร้างขึ้นด้วยการตรวจหาก้อนภายในแบบจำลองเต้านมโดยเปรียบเทียบความสามารถในการตรวจหาก้อนระหว่างการตรวจด้วยการใช้มือคลำกับการใช้เครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้น จากการประเมินประสิทธิภาพ ของเครื่องมือและทำการประเมินความพึงพอใจในการใช้งาน พบว่าความสามารถในการตรวจหาก้อนโดยการใช้มือคลำ เปรียบเทียบกับเครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับทดสอบประสิทธิภาพ ความถูกต้องของเครื่องมือที่ประดิษฐ์พบว่า มีค่าความไวเท่ากับร้อยละ 30 ความจำเพาะเท่ากับร้อยละ 46 ค่าพยากรณ์ บวกเท่ากับร้อยละ 36 ค่าพยากรณ์ลบเท่ากับร้อยละ 40 ความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 41 โดยค่าดังกล่าวเป็นค่าที่กำหนด จากการตรวจพบก้อนอย่างน้อย 1 ก้อน สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมจากกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตามเครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้นยังมีข้อจำกัดในด้านการใช้งานและประสิทธิภาพของการตรวจอยู่บ้าง ดังนั้น ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต
การประดิษฐ์เครื่องต้นแบบการตรวจเต้านมด้วยตนเองสำหรับการตรวจคัดกรองหาก้อนเนื้อบริเวณเต้านมในแบบจำลองเต้านม: การศึกษานำร่อง
อัศนัย ประพันธ์1*
นันทวัฒน์ อู่ดี1
สุวิทย์ กิระวิทยา2
ธงไชย พิพัฒน์พงษ์เลิศ1
ธีระพงษ์ ระโหฐาน1
วีรพล จันทร์หอม1
1Department of Radiological Technology, Faculty of Allied Health Sciences,
2Department of Electrical and Computer Engineering, Faculty of Engineering,
Naresuan University, Phitsanulok, 65000, Thailand.
*E-mail: ausanaip@nu.ac.th
Songkla Med J 2016;34(2):51-60
บทคัดย่อ:
มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเสียชีวิตจากมะเร็งในผู้หญิงไทย ดังนั้นการตรวจพบ ในระยะเริ่มต้นหรือการตรวจคัดกรองจึงมีความสำคัญ โดยทั่วไปการตรวจที่ง่ายและสามารถทำได้ด้วยตนเอง คือวิธีการคลำด้วยมือ แต่อย่างไรก็ตามการคลำด้วยมือมีข้อจำกัดในเรื่องทักษะการคลำของผู้ตรวจและ การขาดความมั่นใจในการตัดสินใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐ์เครื่องต้นแบบตรวจเต้านมด้วยตนเองสำหรับการคัดกรองก้อนในเต้านม โดยการออกแบบเครื่องมือที่อาศัยหลักการสร้างภาพด้วยการนำเข้าแบบเชิงกลจากเซนเซอร์วัดแรงกดเป็นตัวรับสัญญาณที่เชื่อมต่อเข้ากับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์และประมวลผลโดยแสดงผลที่ได้เป็นภาพที่มีเฉดสีแตกต่างกัน จากนั้นประเมินความสามารถของเครื่องมือที่สร้างขึ้นด้วยการตรวจหาก้อนภายในแบบจำลองเต้านมโดยเปรียบเทียบความสามารถในการตรวจหาก้อนระหว่างการตรวจด้วยการใช้มือคลำกับการใช้เครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้น จากการประเมินประสิทธิภาพ ของเครื่องมือและทำการประเมินความพึงพอใจในการใช้งาน พบว่าความสามารถในการตรวจหาก้อนโดยการใช้มือคลำ เปรียบเทียบกับเครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับทดสอบประสิทธิภาพ ความถูกต้องของเครื่องมือที่ประดิษฐ์พบว่า มีค่าความไวเท่ากับร้อยละ 30 ความจำเพาะเท่ากับร้อยละ 46 ค่าพยากรณ์ บวกเท่ากับร้อยละ 36 ค่าพยากรณ์ลบเท่ากับร้อยละ 40 ความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 41 โดยค่าดังกล่าวเป็นค่าที่กำหนด จากการตรวจพบก้อนอย่างน้อย 1 ก้อน สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมจากกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตามเครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้นยังมีข้อจำกัดในด้านการใช้งานและประสิทธิภาพของการตรวจอยู่บ้าง ดังนั้น ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต
Keywords
Full Text:
HTML PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.