Relationship between Thai Working Lifestyles and Lumbar Osteophyte
Abstract
Lumbar osteophyte is abnormal or excessive bone growth in the lumbar vertebrae due to spinal degeneration. Symptoms range from mild pain to severe neuropathy. The objective of this review is to determine the relationship between Thai working lifestyles and lumbar osteophyte. The prevalence of lumbar osteophyte in a sample of Thai skeletons aged 15-96 years (mean 63 years) was found to be very high (97.2%), and affected all samples aged 36 years and above. The location and severity of osteophyte depends on posture and body movement, especially trunk flexion and lateral bending. The majority of Thai workers with osteophyte were engaged in the agricultural and manufacturing sectors, occupations that involve heavy lifting, repeated trunk flexion and lateral bending. Between 2005 and 2014 musculo- skeletal disorders among Thai worker have doubled. Results of this review showed that working lifestyles are related with lumbar osteophyte, and encourages health promotion staffs to provide knowledge and education about correct posture and body movement to help prevent or delay degeneration of bones, muscles or tissues of joints causing osteophyte. Correct behavior in the form of posture may reduce risk of lumbar osteophyte.
ความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตการทำงานของคนไทยกับการเกิดกระดูกงอกที่กระดูกสันหลังระดับเอว
พัชรินทร์ ชนะพาห์
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาพายัพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
บทค ัดย่อ:
กระดูกงอกบริเวณกระดูกสันหลังระดับเอว เป็นลักษณะที่กระดูกเจริญออกมาเกินจากบริเวณปกติซึ่งมี สาเหตุจากการเสื่อมของกระดูกสันหลัง กระดูกงอกอาจทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดเล็กน้อย จนถึงอาการรุนแรงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการสูญเสียการทำงานของเส้นประสาท วัตถุประสงค์ของบทความนี้ เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตการทำงานของคนไทยกับความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกงอกที่กระดูก สันหลังระดับเอว มีการศึกษาความชุกของกระดูกงอกที่กระดูกสันหลังระดับเอวของโครงกระดูกคนไทยช่วงอายุ 15-96 ปี (อายุเฉลี่ย 63 ปี) พบกระดูกงอกร้อยละ 97.2 ซึ่งสูงมาก โดยพบกระดูกงอกทุกรายในโครงกระดูกอายุ ตั้งแต่ 36 ปีขึ้นไป ตำแหน่งและความรุนแรงสัมพันธ์กับท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยเฉพาะในท่าก้มตัว และท่าเอียงลำตัวไปด้านข้าง คนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม ลักษณะงานที่ทำเกี่ยวข้องกับการยกของหนัก การก้มตัว หรือเอียงตัวไปด้านข้าง โดยทำงานในลักษณะเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานานตลอดช่วงของการประกอบอาชีพ ข้อมูลความเจ็บป่วยของคนไทยในช่วงปี พ.ศ. 2548 ถึงปี พ.ศ. 2557 พบว่าความเจ็บป่วยโรคทางระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า วิถีชีวิติการทำงานของคนไทยมีความสัมพันธ์กับการเกิดกระดูกงอกของกระดูกสันหลังระดับเอว ดังนั้นบุคลากร ส่งเสริมสุขภาพควรรณรงค์ให้ความรู้ในท่าทางการทำงานที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันหรือชะลอความเสื่อมของกระดูกสันหลังซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดกระดูกงอก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานน่าจะช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเกิดกระดูกงอกที่กระดูกสันหลังระดับเอวได้
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.