Assessment of Medical Student’s Perceptions towards Educational Environment in Surgical Theaters
Abstract
Objective: This study aimed to determine the perception of medical students toward the learning environment in the surgical theater of Songklanagarind Hospital. The relationships between perceptions of the educational environment with student characteristics were assessed.
Material and Method: In this cross-sectional study, the Thai version of The Surgical Theater Educational Environment Measure (T-STEEM) was used to assess the perceptions of medical students toward the learning environment in the surgical theater. The questionnaire was given to 192 clinical year students during June-July, 2014. Descriptive and comparative statistics are presented. Factor analysis was used to determine sub-domains of student’s perceptions in the learning environment.
Results: The T-STEEM was shown to be practical and internally consistent (Chronbach’s alpha=0.89). The response rate of participants in this study was 62.5%. Males (34.70±4.81) had significantly less favorable perceptions than females (38.42±5.84) while 6th year medical students (22.63±3.70) had significantly more favorable perceptions than that 5th year medical students (18.90±3.16). In addition, there were no significant differences in other variables, such as age and grade point average. From factor analysis, there were 25 items (7 factors) of T-STEEM in which the loading factors were higher than 0.5 and the internally consistency of each component was higher than 0.7.
Conclusion: The T-STEEM is suitable for evaluating perceptions of medical students on educational environment in surgical theater. All most medical students had favorable perceptions of the educational environment in surgical theaters.
การปร ะเมิน การร ับรู้ของน ักศึกษาแพทย์ต่อสภาว ะแวดล้อม การเรี ยนร ู้ในห้องผ่าตัดใหญ่
วัฒน์กร เลาหพิบูลรัตนา1, วริยา ฉัตรแดง1, สรยา สุนทรสวัสดิ์1, ปองพล ชูชื่น1, กฤษณะ สุวรรณภูมิ2, ฐิติวร ชูสง2*
1นักศึกษาแพทย์ 2ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
บทค ัดย่อ
วัตถุประสงค ์: เพื่อประเมินการรับรู้ของนักศึกษาแพทย์ (นศพ.) ต่อสภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ ในห้องผ่าตัดใหญ่ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการรับรู้ต่อสภาวะ แวดล้อมโดยรวมกับปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปี และเกรดเฉลี่ยสะสม
วัสดุและวิธีการ: การศึกษาภาคตัดขวางเพื่อประเมินการรับรู้ของ นศพ. ที่มีต่อสภาวะแวดล้อมการเรียนรู้ในห้อง ผ่าตัดใหญ่ โดยใช้แบบสอบถาม “The Surgical Theater Educational Environment Measure” ฉบับภาษาไทย (T-STEEM) ในระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2557 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นศพ. ชั้นปีที่ 5 และ 6 ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จำนวน 192 คน จากนั้นนำหัวข้อแบบสอบถามมาจัดกลุ่มเพื่อทำนายองค์ประกอบ ที่สัมพันธ์กันและปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะแวดล้อมการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม R
ผลการศึกษา: แบบสอบถาม T-STEEM มีค่าความสอดคล้องภายในเท่ากับ 0.89 อัตราการตอบกลับของ แบบสอบถามคิดเป็นร้อยละ 62.5 นศพ. เพศหญิงให้คะแนนการรับรู้ต่อสภาวะแวดล้อมโดยรวมสูงกว่า นศพ. เพศชาย คือ 38.42±5.84 และ 34.70±4.81 ตามลำดับ ในองค์ประกอบด้านผู้สอนและผู้เรียน นศพ. ชั้นปีที่ 6 ให้คะแนนสูงกว่า นศพ. ชั้นปีที่ 5 คือ 22.63±3.70 และ 18.90±3.16 ตามลำดับ โดยอายุและเกรดเฉลี่ยสะสมไม่มี ความสัมพันธ์กับคะแนนการรับรู้ต่อสภาวะแวดล้อมโดยรวม จากการวิเคราะห์องค์ประกอบแบบสอบถาม T-STEEM พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะแวดล้อมการเรียนรู้ของนศพ.ที่มีค่าน้ำหนักมากกว่า 0.5 และค่าความสอดคล้องภายใน มากกว่า 0.7 มีทั้งสิ้น 25 ข้อ จัดกลุ่มได้ 7 องค์ประกอบ
สรุป: แบบสอบถาม T-STEEM สามารถใช้ประเมินการรับรู้ของนศพ. ต่อสภาวะแวดล้อมการเรียนรู้ในห้องผ่าตัดใหญ่ได้ โดย นศพ. มีคะแนนการรับรู้ที่ดีต่อสภาวะแวดล้อมการเรียนรู้ในห้องผ่าตัดใหญ่
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.