Comparative Study of the Success Rate of Mechanical Ventilator Liberation between Applying and not Applying Rapid Shallow Breathing Index (RSBI) in Patients with Acute Respiratory Failure after Passing Clinical Readiness Assessment
Abstract
Objective: To compare the success rate of mechanical ventilator liberation between the application of rapid shallow breathing index (RBSI) and no RSBI application in patient with acute respiratory failure who passed the clinical readiness assessment for mechanical ventilator liberation.
Material and Method: This is a prospective single arm study in patients with acute respiratory failure who required mechanical ventilator support in the medical intensive care unit after passed the standard unit clinical readiness assessment. All patients were, then, measured RSBI by Intensive Care Unit (ICU) nurses and the results of RSBI were blinded to the researcher. Afterward, the standard mechanical ventilator liberation processes were, then, performed regardless of RSBI results and continuously monitored the clinical statuses indicated successful of mechanical ventilator liberation. The patients who tolerated the standard mechanical liberation processes for 120 minutes, were defined as successful mechanical ventilator liberation. Afterward, selected patients with RSBI less than 105 were then determined with the clinical readiness assessment to compare the success rate of mechanical ventilator liberation between utilized and not utilized RSBI by t-test. This study protocol was approved by the Ethical Committee at Faculty of Medicine, Prince of Songkla University.
Results: One hundred and twenty patients, who passed the standard clinical readiness assessment for mechanical ventilator liberation, were recruited. We found that the success rate of mechanical ventilator of the patient regardless of RSBI determination was 89.2%. In the selected patients with RSBI less than 105 after passing the clinical readiness assessment, the success rate of mechanical ventilator liberation was increased to 92.2%, but no statistically significant was found.
Conclusion: Although, the application of RSBI below 105 to the patients with acute respiratory failure who meet the clinical readiness criteria increased the success rate of mechanical ventilator liberation, but no statistically significant was found.
การศึกษาเปรียบเทียบอัตราความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจระหว่างการใช้และไม่ใช้ดัชนีการหายใจเร็วตื้นในผู้ป่วยภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันหลังจากผ่านการประเมินความพร้อมทางคลินิก
รังสรรค์ ภูรยานนทชัย1*, ชิติมาภรณ์ จันทร์พราหมณ์2
1สาขาวิชาเวชบำบัดวิกฤต 2ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค ์: เพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจระหว่างการนำดัชนีการหายใจเร็วตื้นมาใช้ หรือไม่นำมาใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน หลังจากผู้ป่วยผ่านการประเมินความพร้อมทางคลินิก ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจแล้ว
วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาไปข้างหน้าในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มเดียวที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจากภาวะหายใจล้มเหลว เฉียบพลันในหออภิบาลผู้ป่วยอายุรกรรม โดยคัดเลือกผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหวเฉียบพลันทุกรายที่ผ่านการประเมินความพร้อมทางคลินิกในการหย่าเครื่องช่วยหายใจตามข้อกำหนดของหออภิบาลผู้ป่วยอายุรกรรม หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการวัดดัชนีการหายใจเร็วตื้นโดยพยาบาลวิกฤต และปกปิดผลการวัดดัชนีดังกล่าวไว้ ต่อมาผู้วิจัยจะดำเนินการหย่าเครื่องช่วยหายใจตามกระบวนการมาตรฐานของหออภิบาลผู้ป่วยในทันที โดย ไม่คำนึงถึงค่าดัชนีการหายใจเร็วตื้นของผู้ป่วย หากผู้ป่วยสามารถหายใจเองได้ตามเกณฑ์มาตรฐานทางคลินิก ที่กำหนดไว้เป็นระยะเวลา 120 นาที ถือว่าผู้ป่วยประสบความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ หลังจากนั้น จึงเลือกเฉพาะผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีการหายใจเร็วตื้นน้อยกว่า 105 มาร่วมประเมินร่วมกับความพร้อมทางคลินิกอีกครั้ง เพื่อเปรียบเทียบถึงอัตราของความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ระหว่างการนำค่าดัชนีการหายใจเร็วตื้นมาใช้ และไม่นำค่าดัชนีการหายใจเร็วตื้นมาใช้ ด้วยสถิติ t-test การศึกษานี้ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ จริยธรรมเพื่อการวิจัยในมนุษย์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แล้ว
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันจำนวน 120 ราย ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินความพร้อมทางคลินิก ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ พบว่าการใช้ความพร้อมทางคลินิกเพียงอย่างเดียวโดย ไม่คำนึงถึงดัชนีหายใจเร็วตื้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถประสบความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ตามเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ประมาณร้อยละ 89.2 และเมื่อนำค่าดัชนีการหายใจเร็วตื้นที่มีค่าน้อยกว่า 105 มาพิจารณาร่วมกับความพร้อม ทางคลินิก พบว่าผู้ป่วยสามารถประสบความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 92.2 แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การใช้ค่าดัชนีการหายใจเร็วตื้นที่น้อยกว่า 105 ร่วมกับความพร้อมทางลักษณะทางคลินิก ทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะ หายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ประสบความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ ค่าดัชนีดังกล่าว แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.